เทคโนโลยีกับการศึกษาในปัจจุบัน




ระบบการศึกษาของประเทศไทยได้มีความพยายามในการปฏิรูประบบการศึกษาของชาติ โดยเริ่มขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2542 จนกระทั่งปัจจุบัน จากเอกสารเผยแพร่ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติโดยศาสตราจารย์ ดร.เกษม วัฒนชัย ท่านองคมนตรี ได้กล่าวไว้โดยสรุปว่า " การปฏิรูปการศึกษามิไช่กำลังเกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น หากแต่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก เพราะประเทศต่าง ๆ ล้วนตระหนักดีว่า ความเข้มแข็งและความมั่นคงของประเทศ มาจากการพัฒนาศักยภาพคนในชาติ และจะพัฒนาคนจะต้องอาศัยระบบการศึกษาที่ครอบคลุม เข้มแข็ง มีคุณภาพ และโดยประชาชนมีส่วนร่วม "นอกจากนี้แล้วในเอกสารการปฏิรูปการศึกษาไทย ฉบับนี้ยังได้กล่าวถึง ความรู้และเทคโนโลยี กล่าวคือ มนุษย์สร้างความรู้จากประสบการณ์ตรง และจากการลองถูกลองผิด ทั้งนี้ โดยปัจเจกบุคคล โดยกลุ่ม หรือโดยชุมชนจนเกิดเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งฝ่ายตะวันตกและ ฝ่ายตะวันออก โดยมนุษย์ได้นํากระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์วิจัยปรากฏการณ์ หรือประสบการณ์ หรือพื้นความรู้เดิมจนเกิดเป็นศาสตร์สาขาต่าง ๆ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ทําให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทางตะวันตกได้รับการ พิสูจน์วิจัยจนกลายเป็นศาสตร์สากล แพร่หลายและยอมรับกันทั่วไป หากชาวตะวันออกจะได้นํากระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์วิจัยภูมิปัญญาท้อง ถิ่นฝ่ายตน ก็เชื่อว่าจะเกิดศาสตร์ความรู้เชิงสากลได้เช่นเดียวกัน ดังที่ได้กระทํามาบ้างแล้วในบางประเทศ มนุษย์นําความรู้มาใช้งานเทคโนโลยี คือวิธีหรือรูปแบบของการประยุกต์ความรู้เพื่อนํามาทํางานให้มนุษย์ หากต้องการจะเพิ่มพูนความรู้ใหม่ในสังคม สังคมนั้นก็ต้องจัดการศึกษาและฝึกอบรมให้ “ทุนความรู้” มีมากที่สุด เท่าที่จะทําได้ เมื่อทุนความรู้มีมาก โอกาสที่คนในสังคม คนในชาตินั้นจะสร้าง “ความรู้ใหม่” ก็มีมากขึ้นตามไปด้วยส่วนการสร้างเทคโนโลยีต้องอาศัยฐานความรู้ที่มากและรอบ ด้าน รวมทั้งต้องทําให้คนในสังคม “คิดเป็น” คือมีจินตนาการและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เมื่อเป็นเช่นนี้จะทําให้คนในสังคมยิ่งรู้วิธีประยุกต์ความรู้ คือ พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ สร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องและหลากหลายระบบการศึกษาจึงจําเป็นต้องวางแผน เพื่อให้โอกาสและเพื่อลงทุนทางการศึกษาให้กว้างขวางที่สุด ในขณะเดียวกันก็ต้องปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ “เรียนรู้และคิดเป็น” และในที่สุดต้องเน้นการอบรมทางศาสนาและศีลธรรม เพื่อให้เขา “มีคุณธรรมและคิดดี” ด้วย เป้าหมายของการแสวงหา สรรค์สร้าง และเผยแพร่ความรู้และเทคโนโลยี จึงเป็นไปเพื่อ
(1) เพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน
(2) ประโยชน์และการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ
(3) อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
ภาย ใต้อิทธิพลและผลกระทบของกระแสโลกาภิวัฒน์และระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรี ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ไปทั่วโลกการคมนาคมและการสื่อสารโดยเฉพาะ เทคโนโลยีสารสนเทศได้พัฒนาจนถึงขั้นที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีเรียน รู้และวิถีดํารงชีวิตของประชาชน ในหลายประเทศ และขณะนี้กําลังเป็นเครื่องมือสําคัญในการพัฒนาศักยภาพของประชาชนในอีกหลาย ๆ ประเทศ ระบบการศึกษาไทยต้องปรับตัวอย่างมาก เพื่อรับภาระในการใช้ระบบสารสนเทศ เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาไปยังชนบทและไปยังผู้ด้อยโอกาสในปัจจุบันอย่าง เร่งด่วน ประเทศไทยได้ผ่านการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่มาแล้ว โดยพระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการปฏิรูปในครั้งนั้นมีทั้งปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายในประเทศ รวมทั้งสายพระเนตรอันยาวไกลของพระองค์ท่าน
ดร.สงบ ลักษณะ กล่าวว่า ในภาวะปัจจุบัน ประเทศเรากําลังอยู่ในช่วงของการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายทั้งภายนอกและภายในประเทศ และทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลงทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) เพราะในปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัตน์ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี เป็นไปอย่างรวดเร็วทางบวกและทางลบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของ 
บุคคล อย่างรุนแรง บุคคลจึงจำเป็นต้องพัฒนาตนเอง ให้มีความรู้ ความคิด และทักษะชีวิตให้สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เกิดจนตาย โดยสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และเพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการศึกษา โดยทุกประเทศต่างมุ่งสร้างสังคมใหม่ให้เป็นสังคมที่ใช้ความรู้เป็นฐาน (Knowledge Based Society
สินีนาถ ชาตะกาญจน์ กล่าวว่า ในยุคของการปฏิรูปการศึกษา เราเร่งพัฒนาการศึกษาให้การศึกษาไปพัฒนาคุณภาพของคน เพื่อให้คนพัฒนาประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา เช่น ส่งเสริมการเรียนรู้ต่อเนื่องนอกระบบโรงเรียนและการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ช่วยจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหาร และจัดการเทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน
จะเห็นได้ว่าในการจัดการ ศึกษาในปัจจุบันนั้นจะมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการ สอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา จนในปัจจุบันนี้ระบบงานสื่อและเทคโนโลยี ทางการศึกษาถือเป็นส่วนหนึ่งของของระบบการศึกษา
นิคม พวงรัตน์ กล่าวว่า พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กล่าวไว้ว่า ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแสวงหาความ รู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่ ไม่ว่าเทคโนโลยี สื่อสารมวลชนเทคโนโลยีโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้การจัดการศึกษาบรรลุอุดมการณ์การศึกษาตลอดชีวิต สำหรับทุกคน
ปัจจุบันได้มีความพยายามจัดระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อ การเรียนการสอนที่เรียกว่า “อีเลิร์นนิ่ง” (e-learning) ซึ่งเป็นการเรียนเนื้อหาหรือสารสนเทศสำหรับการสอนหรือการอบรมซึ่งใช้นำเสนอ ด้วยตัวอักษร ภาพนิ่ง ผสมผสานกับการใช้ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์และเสียง โดยอาศัยเทคโนโลยีของเว็บ (Web Technology) ในการถ่ายทอด
การจัดการเรียน รู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วยสื่อที่เป็นข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอ ที่มีการนำเสนอแบบสื่อประสม (Multimedia) จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบต่าง ๆ เช่น ซีดีรอม (CD –ROM) โทรทัศน์ หรือเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย สำหรับทุกคนที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all ;3A: Anyone , Anywhere and Anytime ) การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
( e-learning) นั้นเป็นการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สามารถเรียนรู้ได้ทุกวัน ทุกสถานที่งานกลายเป็นการเรียน การเรียนกลายเป็นงาน และไม่มีใครเลยที่เคยเรียนจบ ความสามารถในการปฏิบัติงาน คือ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ก็คือ เพื่อให้มีความสามารถในเวลาที่น้อยที่สุด ด้วยการอบรมน้อยครั้งที่สุดไม่ใช่มากที่สุด
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ( 2544 ) ได้ให้ความหมายไว้ว่า อีเลิร์นนิ่ง (e – Learning ) คือการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเลิร์นนิ่ง หมายถึง การเรียนรู้บนฐานเทคโนโลยี (Technology based learning) ซึ่งครองคลุมวิธีการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ อาทิ การเรียนรู้คอมพิวเตอร์ (computer-bsed learning) ห้องเรียนเสมือนจริง (virtual classrooms) และความร่วมมือดิจิตอล (digital collaboration) เป็นต้น ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทุกประเภท อาทิ อินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต การถ่ายทอด ผ่านดาวเทียม (satellite broadcast) แถบบันทึกเสียงและวีดิทัศน์ (audio/video tape) โทรทัศน์ที่สามารถโต้ตอบกันได้ (interactive TV) และซีรอม
สุรสิทธิ์ วรรณไกรโรจน์ (http://www.thai2learn.com/, 2547) ได้ให้คำจำกัดความของ e-Learning ไว้ว่า การเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือ e-learning คือ การศึกษา เรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ตหรืออินทราเน็ตเป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน web Brower โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยน ความคิดเห็น ระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย (e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคนเรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all: anyone, anywhere and anytime)
บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศกับการบริหารการศึกษาวิทยา การก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร เป็นปัจจัยผลักดันที่ทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารระหว่างพลโลก อย่างไร้พรหมแดน (Globalization) อย่างรวดเร็วนำไปสู่การผสมผสานความคิด ค่านิยม ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ระหว่างมวลมนุษย์ชาติ ที่เรียกว่า “กระแสโลกาภิวัฒน์” เทคโนโลยีต่างๆ ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ เกิดการแข่งขันในด้านข้อมูลข่าวสาร ด้วยการนำเอาความรู้และเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ เพื่อมุ่ง เป้าหมายความเป็นเศรษฐกิจและสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ (Knowledge-basedEconomy/Society) ประเทศไทยในฐานะที่อยู่ร่วมในสังคมโลก ทำให้ได้รับผลกระทบจากกระแสของโลกาภิวัฒน์ที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างรวดเร็ว จึงได้กำหนดแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสำคัญไว้ 5 กลุ่ม คือ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านภาครัฐ (e-Government) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านพาณิชย์(e-Commerce) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม
(e-Industry) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา (e-Education) และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านสังคม (e-Society)
การ ศึกษาในฐานะกลไกพื้นฐานของการพัฒนาคน เป็นสิ่งที่สังคมคาดหวังว่าจะเป็นเครื่องเตรียมคนและสังคมให้พร้อมรับความ เปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์ จึงเป็นการเตรียมกำลังคนที่มีความฉลาดในการที่จะเป็นบุคลากร นักคิดและนักเลือกข่าวสารข้อมูลมาใช้ในการดำเนินชีวิต การวางแผนเพื่อพัฒนาการศึกษา จึงต้องเน้น การวางแผนในเชิงรุก โดยวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มของกระแสโลกที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในสังคมไทย และวิเคราะห์สถานการณ์การพัฒนาประเทศไทยโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเพื่อหาทิศทางการพัฒนา “ คุณภาพคนไทย” อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศให้รู้ทันโลกคนมีความสุข ครอบครัวและชุมชนมีสันติสุข
การ จัดการศึกษาในปัจจุบัน จึงได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้เพื่อเพิ่มทางเลือกในการเรียน รู้ของผู้เรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคโลกาภิวัฒน์ ให้มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลและข่าวสาร รูปแบบวิธีการเรียนการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล มากขึ้น กระบวนการเรียนการสอนเปลี่ยนบทบาทของครูจากการเป็นผู้ให้ ผู้ถ่ายทอด มาเป็นผู้ออกแบบการศึกษา เพื่อพัฒนาคนที่มีความแตกต่างกัน วิถีทางการเรียนรู้เริ่มเข้าสู่ยุคแห่งการใช้ “ เทคโนโลยีเข้มข้น” ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งไทยเราเองเริ่มมีการนำนวัตกรรมใหม่ทางการ เรียนการสอนเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ โดยเฉพาะเทคโนโลยี “ อินเทอร์เน็ต” ได้มีการเห็นความสำคัญในการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และเริ่มวางโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ทางด้านการสื่อสาร และกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจนเพื่อให้หน่วยงานทางด้านการศึกษาโดยเฉพาะสถาบัน อุดมศึกษาได้ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีข้อมูลต่อเชื่อมอยู่ทั่วทุกมุมโลก อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งประกอบ ด้วยเครือข่ายย่อยจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสื่อสารที่ใหญ่มากจนสามารถตอบสนองความ ต้องการในการค้นคว้าข้อมูลได้เป็นอย่างดี (วิทยา เรืองพรพิสุทธ์. 2538 : 2) ทำให้เกิดความต้องการในการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งทรัพยากรเรียน รู้สำหรับผู้เรียน เช่น การจัดระบบห้องสมุด การบริหารงานของฝ่ายธุรการ การค้นคว้าข้อมูล การเรียนการสอนทางไกลโดยใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรข้อมูลข้อสนเทศต่างๆ อย่างเป็นประโยชน์สูงสุด ลดความซ้ำซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันด้วยเทคโนโลยีที่ ทันสมัยและเป็นมาตรฐาน ตลอดจนเพิ่มศักยภาพของการให้บริการข้อมูลที่สะดวกและรวดเร็ว ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ และส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาระบบฐานข้อมูล และระบบสานสนเทศต่างๆ ซึ่งจะเป็นฐานสำคัญสำหรับการวิจัยและพัฒนาการศึกษา (Computer Time. 2538 : 18)
ประเทศไทย มีการศึกษาเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในด้านการศึกษาดัง เช่นการศึกษาของ ทิพวรรณ รัตนวงศ์ (2532) ได้ศึกษาแนวโน้มหลักสูตรสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในปี พ.ศ.2545 พบว่าการอุดมศึกษาในอนาคตเทคโนโลยีทางการศึกษาจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การเรียนการสอนไม่จำกัดอยู่เฉพาะในห้องเรียนและภายในสถาบันการศึกษาอีกต่อไป และเรวดี คงสุภาพกุล (2538) ได้ศึกษาการใช้ระบบอินเทอร์เน็ตของนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า สาขาวิชาที่ศึกษามีความสัมพันธ์กับความบ่อยในการใช้ นิสิต นักศึกษาสาขาสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ใช้ระบบมากกว่านิสิตนักศึกษาสาขา วิทยาศาสตร์ และเป็นการใช้ตามสาขาวิชาที่ศึกษา คือ นิสิตนักศึกษาสาขาสังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์มีความสัมพันธ์ด้วยกัน จึงใช้ระบบในการคุยกับเพื่อน ในขณะที่นิสิตนักศึกษาสาขาสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์มีความสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน จึงใช้ระบบในการคุยกับเพื่อน ในขณะที่นิสิตนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ จะใช้ในงานบริการค้นคว้างานวิจัยค้นคว้าข้อมูลวิชาการ นิสิตนักศึกษามองเป็นอุปสรรคในการใช้ระบบ คือตัวปัญหาของระบบ เนื่องจากระบบมีการใช้งานในความเร็วต่ำ เมื่อมีการใช้พร้อมๆ กันก็จะเกิดการติดขัดต้องมีระบบช่วยแก้ปัญหา ในปัจจุบันได้มีความพยายามจัดสภาพแวดล้อมทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อ การเรียนการสอนที่เรียกว่า “อีเลิร์นนิ่ง” (e-learning) ซึ่งเป็นการเรียนเนื้อหาหรือสารสนเทศสำหรับการสอนหรือการอบรม ซึ่งใช้นำเสนอด้วยตัวอักษร ภาพนิ่ง ผสมผสานกับการใช้ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์และเสียง โดยอาศัยเทคโนโลยีของเว็บ (Web Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีระบบการจัดการคอร์ส (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่าง ๆ มีการจัดให้มีเครื่องมือการสื่อสารต่าง ๆ เช่น e-mail, Webboard สำหรับตั้งคำถาม หรือแลกเปลี่ยนแนวคิดระหว่างผู้เรียนด้วยกัน หรือกับวิทยากร การจัดให้มีแบบทดสอบ หลังจากเรียนจบ เพื่อวัดผลการเรียน รวมทั้งการจัดให้มีระบบบันทึก ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการเรียน โดยผู้เรียนส่วนใหญ่แล้วจะศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ ซึ่งหมายถึงจากเครื่องที่มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับ ประเทศไทยแม้ว่าจะยังไม่มีการเปิดการสอนแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) เต็มหลักสูตร แต่ก็ได้เริ่มนำแนวคิดดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนแล้ว เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้กำหนดเป็นนโยบายในระบบการศึกษาไร้พรมแดน แผน มทส.(วิจิตร ศรีสอ้าน. 2541) ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินโดยเริ่มสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แต่ยังไม่ได้ดำเนินการสอนแบบเต็มหลักสูตร ส่วนมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชก็ได้จัดทำโครงการศึกษาทางไกลผ่านวิทยาเขต เสมือนจริง (Virtual University) โดยมีเป้าหมายที่จะทดลองใช้กับนักศึกษาปริญญาโทบางหลักสูตรในปีการศึกษา 2543 และจะขยายใช้กับนักศึกษาปริญญาโททั้งหมด ในระยะต่อไป รวมทั้งการเปิดสอนระดับปริญญาตรีบางหลักสูตรด้วย (มหาวิทยาสุโขทัยธรรมธิราช. 2541) แต่อย่างไรก็ตามการดำเนินการของทั้ง 2 มหาวิทยาลัยนี้เป็นการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบางรายวิชา การเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) จะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาต่างๆ ของการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เช่น ปัญหาด้านสถานที่เรียนในมหาวิทยาลัยไม่เพียงพอความต้องการของผู้สมัครเรียน ทำให้ต้องจำกัดจำนวน ในการรับเข้าเรียน แต่การเรียนในห้องเรียนเสมือนจริง นักศึกษาไม่ต้องใช้สถานที่เรียนในมหาวิทยาลัย แต่เรียนจากที่บ้านหรือที่ทำงานจึงสามารถรับนักศึกษาได้เป็นจำนวนมาก และรับได้กระจายทั่วไปจึงช่วยลดปัญหาด้านการกระจุกตัวของมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งรวมกันอยู่ในเมืองใหญ่ในตัวเมือง ทำให้นักศึกษาที่อยู่ในชนบทไม่สะดวกในการเดินทางไปเรียนที่มหาวิทยาลัยและ สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก แต่นักศึกษาที่เรียนผ่านระบบการการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ไม่ต้องเดินทางไปรวมกันที่มหาวิทยาลัย จึงบรรเทาปัญหาการเดินทางไปได้มาก และยังแก้ปัญหาข้อจำกัดด้านเวลาที่มหาวิทยาลัยปกติจะต้องเรียนในเวลาเดียว กันตามที่กำหนด ไม่สามารถสับเปลี่ยนหรือเลื่อนได้ แต่ในการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในเวลาที่สะดวกได้ซึ่งมีความยืดหยุ่นทางด้านเวลา สูง นอกจากนั้นการมีโอกาสได้ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา จะช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีความชำนาญในการใช้เทคโนโลยี เมื่อออกไปทำงานจะสามารถทำงานได้ทันที ด้วยเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว นักการศึกษาจึงมีความพยายามที่จะจัดระบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ที่เหมาะสมกับการศึกษายุคปัจจุบัน

สรุป
เทคโนโลยี การศึกษา หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดความรู้ ทักษะ เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้ได้มากที่สุด และเพื่อประหยัดและปลอดภัยที่สุด ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้อาจจะเป็น คอมพิวเตอร์ รายการวิทยุกระจายเสียง สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ตำรา ฯลฯ และที่สำคัญที่สุดเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ เทคโนโลยีการศึกษาเกี่ยวข้องกับการออกแบบ การพัฒนาการใช้การจัดการ และประเมินผลของกระบวนการ แหล่งเรียนรู้ สำหรับการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีประสิทธิภาพมากที่สุดจะเห็นได้ว่า เทคโนโลยี และการสื่อสารที่ทันสมัย ข่าว

 










สารจากแหล่งต่าง ๆ สามารถส่งถึงกันได้ อย่าง แพร่หลายและรวดเร็ว การจัดการศึกษาในปัจจุบันและอนาคต จึงเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์ให้กับนักเรียน และรัฐต้องนำเอาเทคโนโลยี และสื่อสารใหม่มาพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพ การจัดการศึกษาให้กว้างขวาง อย่างไรก็ตามการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยี สามารถจัดได้ ไม่ค่อยน่าเป็นห่วง ถ้าสถานศึกษามีงบประมาณสามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ส่วนการที่จะสอนให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีได้นั้นก็ไม่ยาก แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ Information หรือที่เรียกว่า สารสนเทศ ที่จะเป็นเนื้อหาของการใช้เทคโนโลยี เพราะถ้าขาดข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้ในการเรียนรู้ แล้วจะทำให้ขาดการเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวระบบเทคโนโลยีก็ไร้ความหมายไม่มีประโยชน์